BOSTON_Artboard 4.jpg

โครงการ Age-Friendly Boston กินเวลา 3 ปี แต่แทนที่จะประเมินผลโครงการครั้งเดียวในรอบสุดท้าย ทีมงานจะประเมินความคืบหน้าโครงการทุกปี และออกรายงานเพื่อบรรยายว่าเทศบาลบอสตันและพันธมิตรเปลี่ยนได้พัฒนาเมืองให้เป็นมิตรกับผู้สูงอายุแล้วในด้านไหนบ้าง และอย่างไร

วิธีที่ใช้ติดตามการทำงานคือ โครงการ Age-Friendly Boston จะมี “แผงหน้าปัด” ที่อยู่ในรูป spreadsheet ในแผงหน้าปัดนี้ ชิ้นงานสำหรับลงมือแต่ละชิ้นจะปรากฏอยู่ พร้อมกับชื่อของคนที่เข้าร่วม รายละเอียดความคืบหน้า และระบุว่า “ดำเนินการเสร็จสิ้น” ไปถึงขั้นไหนแล้ว ทีมงานจะใช้แผงหน้าปัดนี้เป็นข้อมูลสำหรับประชุมกันทุกไตรมาส เพื่อหารือกันถึงความคืบหน้าและเรื่องท้าทายระหว่างดำเนินโครงการ การใช้หน้าปัดรูปแบบนี้ยังช่วยให้การรายงานความคืบหน้าง่ายขึ้นมากอีกด้วย[1]

นอกจากนี้ อีกเรื่องที่น่าจะใส่ไว้ไหนหน้าปัดด้วยคือชิ้นงานแบบ “พลอยได้” (spillover) ซึ่งเป็นงานที่สำเร็จเพิ่มเติมจากการลงมือทำนโยบายอื่น เช่น ระหว่างทำกำลังดำเนินการติดตั้งม้านั่งเพิ่มขึ้นอีก 25 ตัว คุณได้สานสัมพันธ์ใหม่กับสำนักงานโยธา และทำให้หน่วยงานนี้รู้ว่ามีโครงการพัฒนาเมืองให้เป็นมิตรกับผู้สูงอายุอยู่ สำนักงานโยธาจึงได้ซ่อมแซมพื้นรองมั่งนั่งที่แตกหักหรือไม่สม่ำเสมอด้วย การทำเช่นนี้ช่วยให้เห็นว่าโครงการส่งผลกระจายไปกว้างกว่าชิ้นงานที่กำหนดเอาไว้ว่าต้องทำ

รายงานความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง

โครงการ Age-friendly Boston นำเสนอรายงานความสำเร็จทุกปี ซึ่งในตอนนี้ออกรายงานมาแล้ว 2 ปี คือฉบับปีแรก (2018) และ ฉบับปีที่สอง (2019) โดยรายงานแต่ละฉบับจะบอกเล่าถึงความคืบหน้าและเรื่องที่ทำสำเร็จไปแล้วในแต่ละประเด็น เนื่องจากในบทความตอนที่ 3 เราได้นำเสนอตัวอย่าง

Untitled

Untitled

ตัวอย่างความสำเร็จในเรื่อง "การสนับสนุนของชุมชนและบริการสุขภาพ" ในรายงานความสำเร็จฉบับปีแรก [2]

ตัวอย่างความสำเร็จในเรื่อง "การสนับสนุนของชุมชนและบริการสุขภาพ" ในรายงานความสำเร็จฉบับปีที่สอง [3]

นำเสนอทางเว็บไซต์